Last updated: 22 ก.ค. 2562 | 4376 จำนวนผู้เข้าชม |
การวัดความดันโลหิต เป็นการตรวจร่างกายที่สามารถให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์เกี่ยวกับสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดเบื้องต้น ซึ่งทำได้ภายในเวลารวดเร็วโดยไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใด ๆ การวัดอาจทำโดยพันปลอกแขนหรือสอดแขนจนสุดต้นแขนเข้าไปในเครื่องอัตโนมัติ หรือใช้ผ้าพันรอบแขนแล้วสูบลมให้ผ้าพองขึ้นจนเกิดแรงบีบที่แขน จากนั้นจึงค่อย ๆ ปล่อยลมออกและรอดูค่าความดันที่จะปรากฏคงที่ในเวลาต่อมา
ทำไมต้องวัดความดันโลหิต
ภาวะความดันโลหิตสูงมักไม่มีอาการบ่งบอก ผู้ป่วยอาจไม่เคยรู้ตัวจนกระทั่งได้รับการตรวจความดันโลหิตเบื้องต้นเมื่อเข้ารับการรักษาหรือตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาล การตรวจพบภาวะความดันโลหิตสูงและรับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ นั้นสามารถป้องกันการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง รวมถึงโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับตาได้ บุคคลทั่วไปควรตรวจความดันโลหิตเป็นประจำเมื่อมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ความถี่ในการตรวจวัดความดันที่เหมาะสมตามช่วงอายุ มีดังนี้
ผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจความดันโลหิต 1 ครั้งต่อปี
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง เช่น มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน มีภาวะอ้วน และผู้ที่มีความดันโลหิตในระดับปกติถึงระดับสูงอยู่ที่ 130-139/85-89 มิลลิเมตรปรอท ควรตรวจวัดความดันโลหิต 1 ครั้งต่อปี
ผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 18-39 ปีที่มีความดันโลหิตต่ำกว่า 130/85 มิลลิเมตรปรอทที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นใด ควรได้รับการตรวจความดันโลหิตทุก 3-5 ปี
ทั้งนี้แพทย์อาจแนะนำให้รับการตรวจบ่อยกว่าข้างต้นได้ ขึ้นอยู่กับระดับความดันโลหิตและสุขภาพที่แตกต่างกันของคนไข้แต่ละราย หรือหากรู้สึกกังวลเกี่ยวกับระดับความดันโลหิตของตนเองก็สามารถไปรับการตรวจได้ทุกเมื่อ ซึ่งสถานที่ที่ให้บริการตรวจความดันโลหิต ได้แก่ โรงพยาบาลและสถานพยาบาลทุกประเภท รวมถึงร้านขายยาบางแห่ง หรือจะซื้อเครื่องมาตรวจเองที่บ้านก็ทำได้เช่นกัน
ขั้นตอนการวัดความดันโลหิต
การเตรียมความพร้อม
ทั้งนี้ การวัดความดันโลหิตอาจต้องทำหลายครั้งเพื่อความแม่นยำของค่าที่ได้ และควรระวังปัจจัยต่อไปนี้เพิ่มเติม เพราะอาจส่งผลให้ค่าความดันโลหิตคลาดเคลื่อน เช่น
การเตรียมเครื่องมือและวิธีเลือกเครื่องมือที่เหมาะสม
การวัดความดันนั้นควรใช้เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ ชนิดวัดที่ต้นแขน และได้รับการรับรองมาตรฐาน Clinically validated หรือการทดสอบทางการแพทย์ก่อนจัดจำหน่าย การทดสอบทางการแพทย์นี้นอกจากจะทดสอบความปลอดภัยในการใช้งานแล้ว ยังทดสอบความแม่นยำของเครื่องซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากสำหรับเครื่องมือที่ใช้วัดค่าที่มีความจำเป็นต่อการวินิจฉัยโรคอย่างค่าความดัน หรือค่าน้ำตาล
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมเครื่องมือวัดความดันโลหิตชนิดปรอท (Mercury Sphygmomanometer) หรือเครื่องมือวัดความดันโลหิตชนิดอัตโนมัติ (Automatic Blood Pressure Measurement Device) ก็ต้องมีการตรวจสอบมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอเป็นระยะ และต้องใช้ปลอกแขนวัดความดัน (Arm Cuff) ที่ผ่านมาตรฐานทางการแพทย์ Cuff Validation หรือการทดสอบและรับรองปลอกแขนสำหรับวัดความดันด้วย เพื่อความแม่นยำในการตรวจวัดความดัน ควรเลือกปลอกแขนที่พอดี กระชับ และมีขนาดเหมาะสมกับแขนของผู้ใช้งาน คือมีส่วนที่เป็นถุงลม (Bladder) ครอบคลุมรอบวงแขนคิดเป็นร้อยละ 80 นั่นเอง
โดยเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดอัตโนมัติที่ได้มาตรฐาน Clinically validated จะเป็นประโยชน์ ให้ค่าความดันโลหิตที่แม่นยำ และเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ป่วยหรือผู้ที่มีความเสี่ยงมากกว่าปกติ เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน สตรีมีครรภ์หรือภาวะครรภ์เป็นพิษ สตรีมีครรภ์ที่มีความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคไต ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือด หัวใจตีบ หรือโรคอื่นๆที่มีผลต่อหัวใจ เป็นต้น
วิธีวัดความดันโลหิต
หลังจากนั่งอยู่ในท่าที่สบายและผ่อนคลาย และวางแขนบนพนักเก้าอี้หรือบนโต๊ะสักพักแล้ว ให้ทำตามขั้นตอนการวัดความดันโลหิต ดังนี้
ในปัจจุบันมีสถานพยาบาลบางแห่งที่ยังให้บริการด้วยเครื่องวัดความดันโลหิตแบบลูกสูบที่ต้องบีบลูกยาง ซึ่งต้องอัดลมเข้าสู่ปลอกแขนวัดความดันจนคลำสัมผัสชีพจรที่หลอดเลือดแดงแขนไม่ได้ จากนั้นค่อย ๆ ปล่อยลมให้ปรอทในหลอดแก้วลดระดับลงจนเริ่มคลำชีพจรได้ แล้วจึงดูค่าความดันที่ปรากฎขึ้น รวมถึงเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดปรอทด้วยการฟัง ซึ่งจะวางแผ่นไดอะแฟรม (Diaphragm) ของหูฟัง (Stethoscope) เหนือหลอดเลือดแดงแขน แล้วบีบลูกยางและปล่อยลมจนได้ยินเสียงชีพจรเพื่อดูค่า SBP และค่า DBP แต่ควรระวังผลการวัดที่ผิดพลาดจากการบีบลูกยางช้าหรือยังไม่ทันเกิดแรงดันมากพอ และการคลายวาล์วลูกสูบที่มากเกินไป
ค่าที่ปรากฏบ่งบอกอะไร
ค่าระดับความดันโลหิตที่ได้มีหน่วยเป็นมิลลิเมตรปรอท (mmHg) โดยจะแสดงเป็น 2 ตัวเลข คือ
ทั้งนี้ ค่าความดันโลหิตทั้ง 2 ตัวเลขต่างมีความสำคัญ หากตัวเลขใดตัวเลขหนึ่งที่สูงเกินไปอาจหมายถึงการมีภาวะความดันโลหิตสูง แต่โดยทั่วไปแพทย์จะให้ความสนใจกับตัวเลขบนมากกว่า เพราะการมีค่าความดันซิสโตลิกสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ค่าความดันตัวบนนี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุ เนื่องจากความฝืดและพองตัวของหลอดเลือดแดงที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการสะสมของคราบหินปูนเป็นเวลานาน และความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดที่สูงขึ้น
ผลการวัดความดันโลหิต
ระดับความดันโลหิตปกติจะมีค่าตัวเลขบน (ค่าความดันโลหิตซิสโตลิก) ไม่เกินกว่า 120 และมีค่าตัวเลขล่าง (ความดันโลหิตไดแอสโตลิก) ไม่เกินกว่า 80 เขียนเป็น 120/80 มิลลิเมตรปรอท ส่วนระดับความดันผิดปกตินั้นสามารถแบ่งได้เป็น 5 ระดับ ได้แก่
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ต้องวัดความดันโลหิตเป็นประจำอาจลำบากต่อการไปพบแพทย์หรือไม่อยากเดินทางไปถึงโรงพยาบาลเพียงเพื่อตรวจวัดความดันโลหิตอย่างเดียว เครื่องมือดิจิทัลจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เหมาะสมและควรมีติดบ้านไว้ เนื่องจากใช้งานได้ง่าย เคลื่อนย้ายและพกพาได้สะดวก มีข้อผิดพลาดน้อย อีกทั้งยังแสดงผลเป็นตัวเลขอย่างชัดเจนพร้อมกับอัตราการเต้นของหัวใจ เหมาะสำหรับผู้ป่วยทั่วไป ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ที่สายตาและการได้ยินไม่ดี รวมถึงผู้ป่วยเด็กด้วย ซึ่งการวัดความดันโลหิตเป็นประจำอาจทำให้พบความผิดปกติได้เร็ว เพิ่มโอกาสในการรักษา ช่วยให้หายเป็นปกติเร็วยิ่งขึ้นด้วย
25 มี.ค. 2566
25 มี.ค. 2566
25 มี.ค. 2566
25 มี.ค. 2566